เมนู

ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้น
ขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอัน
ชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้

[15] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
นรชนใดย่อมปรารถนา ไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า
ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.

[16] คำว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน มีความว่า คำว่า :-
ไร่ คือ ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน
ไร่งา.
นา คือ นาข้าวสาลี นาข้าวจ้าว
ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่.
เงิน คือ กหาปณะ เรียกว่า เงิน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน.

ว่าด้วยทาส 4 จำพวก



[17] คำว่า โค ม้า ทาส คนภายใน มีความว่า :-
โคทั้งหลาย เรียกว่า โค.
ปสุสัตว์เป็นต้น เรียกว่า ม้า.
คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส 4 จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายใน 1 ทาส
ที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ 1 ผู้ที่สมัครเข้าถึงความเป็นทาสเอง 1 เชลยผู้ที่เข้าถึง
ความเป็นทาส 1 สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง คนบางพวก
เป็นทาสที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์บ้าง คนบางพวกสมัครเข้า
เป็นทาสเองบ้าง คนบ้างพวกเป็นทาสเพราะตกเป็นเชลย
บ้าง.

คำว่า คนภายใน ได้แก่ บุรุษ 3 จำพวก คือ คนรับจ้าง 1
กรรมกร 1 พวกอยู่อาศัย 1.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โค ม้า ทาส คนภายใน.
[18] คำว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก มีความว่า :-
สตรีที่มีเจ้าของ เรียกว่า สตรี.
คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง 4 จำพวก คือ พวกพ้อง
โดยเป็นญาติ ชื่อว่า พวกพ้อง 1 พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่า พวกพ้อง 1
พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ชื่อว่า พวกพ้อง 1 พวกพ้องโดยการเรียน
ศิลปะ ชื่อว่า พวกพ้อง 1.
คำว่า กามเป็นอันมาก คือ กามมาก, กามมากเหล่านี้ ได้แก่
รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ โผฏฐัพพะที่
ชอบใจ.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
[19] คำว่า นรชนใดย่อมปรารถนา มีความว่า :-
คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบ อย่างใด จัดแจงอย่างใด มี
ประการอย่างใด ถึงฐานะอย่างใด ประกอบด้วยธรรมอย่างใด คือ เป็น
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์.

คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต
ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ย่อมปรารถนา คือย่อมปรารถนา ย่อมตามปรารถนา
ย่อมปรารถนาทั่วไป ย่อมติดพัน ในวัตถุกามทั้งหลาย ด้วยกิเลสกาม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนใดย่อมปรารถนา.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
นรชนใดย่อมปรารถนาไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า
ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.

[20] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น
เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น
ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่
แตกแล้วฉะนั้น.

[21] คำว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชน
นั้น
มีความว่า คำว่า ไม่มีกำลัง คือ กิเลสอันไม่มีกำลัง คือทุรพล
มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก เป็นดัง
ลูกนก เล็กน้อย. กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ
กำจัด ย่ำยี บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง
ย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ

ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลัง
ทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก
เป็นดังลูกนก เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มี
กำลังย่อมครอบงำนรชนนั้น
แม้ด้วยประการอย่างนี้.

ว่าด้วยอันตราย 2 อย่าง



[22] คำว่า เหล่าอันตราย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า :-
คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ
อย่าง 1 อันตรายที่ปกปิดอย่าง 1.
อันตรายที่ปรากฏ เป็นไฉน ? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสื่อเหลือง
หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร
คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว, และโรคทางจักษุ โรคทาง
โสตะ โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทาง
หู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ
โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด
โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุด-
ทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม
โรคพุพอง โรคริดสีดวง. อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น
สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปร
ปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธรู้สึกเจ็บปวด
อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม, ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ